CHEC (Thai)

ปตท.-กัลฟ์-ไชน่าฮาร์เบอร์ ปิดดีลแหลมฉบังเฟส 3 สัมปทาน 35 ปี  (ลงข่าววันที่26 พ.ย.2564)

สืบเนื่องมาจากวันที่ 1 มี.ค. 2564 ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ครั้งที่ 5/2563 มีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้อนุมัติผลการเจรจาโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 ระยะที่ 1 ท่าเทียบเรือ F วงเงิน 84,361 ล้านบาท ซึ่งกลุ่มกิจการร่วมค้า GPC (บริษัท จีพีซี อินเตอร์เนชั่นแนล เทอร์มินอล จำกัด) เป็นผู้ชนะการประมูล โดยกลุ่มกิจการร่วมค้า GPC เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างบริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ GULF ซึ่งถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 40 ร่วมกับบริษัท พีทีที แทงค์ เทอร์มินัล จำกัด (PTT TANK) และ บริษัท เชค โอเวอร์ซี อินฟราสตรัคเจอร์ โฮลดิ้ง จำกัด (CHEC OVERSEA INFRASTRUCTURE HOLDING PTE. LTD.: CHEC OVERSEA) ซึ่งถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 30 และร้อยละ 30 ตามลำดับ โดยกลุ่มกิจการร่วมค้า GPC ได้ร่วมพิธีลงนามสัญญาร่วมลงทุนกับการท่าเรือแห่งประเทศไทยในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2564 ณ ห้องบอลรูมโรงแรมคอนราด กรุงเทพฯ

 โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังดังกล่าว การท่าเรือแห่งประเทศไทยจะเป็นผู้ดำเนินการถมทะเล ในขณะที่ GPC จะเป็นผู้ออกแบบ ก่อสร้าง ให้บริการ และซ่อมบำรุงรักษาท่าเทียบเรือ F1 และ F2 เพื่อรองรับการขนถ่ายตู้สินค้าด้วยระบบจัดการตู้สินค้าแบบอัตโนมัติ ระยะเวลาสัมปทานตามสัญญาเป็น 35 ปี ทั้งนี้ คาดว่าท่าเทียบเรือ F1 จะเริ่มก่อสร้างในปี 2566 โดยมีกำหนดเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ในปี 2568 และท่าเทียบเรือ F2 จะเริ่มก่อสร้างในปี 2570 โดยมีกำหนดเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ในปี 2572 เมื่อโครงการฯ ในระยะที่ 3 แล้วเสร็จจะสามารถรองรับความจุตู้สินค้าจาก 11 ล้านตู้/ปี เป็น 18 ล้านตู้/ปี หรือเพิ่มตู้สินค้าไม่ต่ำกว่า 7 ล้านตู้/ปี รับการขยายตัวของปริมาณเรือขนส่งสินค้าทางทะเลเพิ่มขึ้น 

โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ในส่วนของ ท่าเทียบเรือ Fเป็นโครงการโครงสร้างพื้นฐานหลักสำคัญของอีอีซี ที่จะช่วยเสริมความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ เพื่อรองรับการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้นในอนาคต และยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชน ตามความมุ่งมั่นของรัฐบาลในการบริหารประเทศ ซึ่งเป็นการส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมเพิ่มมูลค่าและการบริหารจัดการขนส่งหลายรูปแบบ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนค่าขนส่ง ซึ่งจะช่วยพัฒนาและขยายพื้นที่หลังท่าของท่าเรือแหลมฉบัง ได้อย่างเต็มศักยภาพ

UPDATE NEWS

พิธีลงนามสัญญาจ้างก่อสร้างโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมบังระยะที่ 3 ส่วนที่ 2 ระหว่างการท่าเรือแห่งประเทศไทย กับ บริษัท ซีเอชอีซี (ไทย) จำกัด

พิธีลงนามสัญญาจ้างก่อสร้างโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมบังระยะที่ 3 ส่วนที่ 2 ระหว่างการท่าเรือแห่งประเทศไทย กับ บริษัท ซีเอชอีซี (ไทย) จำกัด

บริษัท ซีเอชอีซี (ไทย) จำกัด ได้ลงนามในสัญญาจ้างก่อสร้างโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ส่วนที่ 2 งานก่อสร้างอาคาร…

“ไชน่า ฮาร์เบอร์ฯ-ITD-ซิโนไทย-” ร่วมชิงโครงการส่วนต่อขยาย M7 เชื่อมอู่ตะเภา

“ไชน่า ฮาร์เบอร์ฯ-ITD-ซิโนไทย-” ร่วมชิงโครงการส่วนต่อขยาย M7 เชื่อมอู่ตะเภา

กรมทางหลวง(ทล.) อยู่ระหว่างพิจารณาข้อเสนอทางเทคนิคของผู้รับเหมา 3 รายประกอบด้วยบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ซิโน-ไทย…

ผู้บริหารบริษัท ซีเอชอีซี (ไทย) จำกัด เข้าร่วมประชุม“Thailand Landbridge Roadshow” ณ กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน

ผู้บริหารบริษัท ซีเอชอีซี (ไทย) จำกัด เข้าร่วมประชุม“Thailand Landbridge Roadshow” ณ กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน

ผู้บริหารบริษัท ซีเอชอีซี (ไทย) จำกัด ในนามผู้แทนกลุ่มบริษัท ไชน่า ฮาร์เบอร์ เอ็นจิเนียนิ่ง คอมปานี (ซีเอชอีซี)…

‘ไชน่าฮาร์เบอร์’จ่อคว้าสัญญาสร้างท่าเทียบเรือ’แหลมฉบัง’กว่า 7 พันล. “มนพร”เผย”งานถมทะเล”เร็วกว่าแผนหลังเร่งเบิกจ่าย

‘ไชน่าฮาร์เบอร์’จ่อคว้าสัญญาสร้างท่าเทียบเรือ’แหลมฉบัง’กว่า 7 พันล. “มนพร”เผย”งานถมทะเล”เร็วกว่าแผนหลังเร่งเบิกจ่าย

‘ไชน่าฮาร์เบอร์’จ่อคว้าสัญญาสร้างท่าเทียบเรือ’แหลมฉบัง’กว่า 7 พันล. “มนพร”เผย”งานถมทะเล”เร็วกว่าแผนหลังเร่งเบิกจ่าย